ประกันบำนาญ คืออะไร
ประกันชีวิตแบบบำนาญ หรือ ประกันบำนาญ คือ สินค้าทางการเงินที่ออกแบบมาเพื่อเป็นอีกทางเลือกให้ผู้ซื้อใช้วางแผนการเงินในช่วงวัยเกษียณได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีวินัยในการเก็บออมช่วงวัยทำงานและได้รับเงินคืนที่เปรียบเสมือนรายได้ประจำในช่วงที่หยุดทำงานแล้วหรือวัยเกษียณ คล้ายๆ กับระบบบำนาญของข้าราชการที่เกษียณแล้วจะได้รับเงินบำนาญจากรัฐบาลซึ่งเป็นสิทธิ์ที่ได้สะสมมาตลอดเวลาที่ทำงาน ในขณะที่ประกันบำนาญเป็นสินค้าที่บุคคลทั่วไปสามารถเลือกซื้อได้เองจากบริษัทประกันภัย
ข้อดี
- เราจะได้รับเงินคืนหรือเงินบำนาญจากประกันเป็นจำนวนเงินที่แน่นอนตามที่ระบุไว้ในสัญญาของแผนที่เราเลือกทำ
- ไม่ต้องกังวลเรื่องความผันผวน หรือความเสี่ยงจากการลงทุนเอง
- เงินคืนหรือเงินบำนาญจากประกัน ไม่ต้องเสียภาษี
- เบี้ยประกันบำนาญใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 300,000 บาท ตามเงื่อนไขของกรมสรรพากรที่กำหนด
- ลดภาระภาษีในปัจจุบัน และสะสมเงินไว้ใช้ในอนาคต
- ได้รับความคุ้มครองจากการเสียชีวิตทุกกรณี (ทั้งเจ็บป่วย และอุบัติเหตุ) ในช่วงที่รับรองตามสัญญาประกันภัย
- ในกรณีที่ผู้ทำประกันเสียชีวิตก่อนได้รับเงินบำนาญจากประกัน ผู้รับผลประโยชน์ที่กำหนดไว้ในสัญญายังได้รับเงินเป็นมรดกได้แบบไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องเสียภาษีมรดก และไม่ต้องแต่งตั้งผู้จัดการมรดกหรือดำเนินเรื่องกับศาลที่ใช้เวลาค่อนข้างนาน
ข้อเสีย
- ถ้าต้องการเงินบำนาญต่อปีเยอะในช่วงวัยเกษียณ จะต้องจ่ายเบี้ยประกันสูงตามด้วยเช่นกัน
- เงินบำนาญที่ได้รับอาจจะมีมูลค่าน้อยลงได้จากเงินเฟ้อ
- แผนประกันบำนาญส่วนใหญ่จะจ่ายบำนาญคืนเป็นรายปี มีเพียงไม่กี่บริษัททำเป็นรายเดือนได้
เพราะประกันบำนาญเป็นสินค้าที่การันตีจำนวนเงินบำนาญที่เราจะได้รับในอนาคต จึงตามมาด้วยเบี้ยประกันที่สูงเพื่อให้ได้รับเงินบำนาญที่เยอะเพียงพอกับการใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆ ดังนั้นถ้าเราอยู่ในวัยทำงานที่ยังพอรับความเสี่ยงได้บ้างและต้องการวางแผนเกษียณแบบใช้ทุนไม่สูงมาก อาจจะแบ่งสัดส่วนในการเลือกสินค้าทางการเงิน เช่น การลงทุนในกองทุนรวมที่ความเสี่ยงน้อย มาทำร่วมกับประกันบำนาญเพื่อความแน่นอน และมั่นคงมากขึ้นค่ะ
คำแนะนำในการเลือกประกันบำนาญ
1. อย่าพึ่งตัดสินใจทำ จากเปอร์เซ็นต์(%)เงินคืนที่ระบุไว้
เพราะประกันบำนาญเป็นสินค้าที่การันตีจำนวนเงินบำนาญที่เราจะได้รับในอนาคต จึงตามมาด้วยเบี้ยประกันที่สูงเพื่อให้ได้รับเงินบำนาญที่เยอะเพียงพอกับการใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆ ดังนั้นถ้าเราอยู่ในวัยทำงานที่ยังพอรับความเสี่ยงได้บ้างและต้องการวางแผนเกษียณแบบใช้ทุนไม่สูงมาก อาจจะแบ่งสัดส่วนในการเลือกสินค้าทางการเงิน เช่น การลงทุนในกองทุนรวมที่ความเสี่ยงน้อย มาทำร่วมกับประกันบำนาญเพื่อความแน่นอน และมั่นคงมากขึ้นค่ะ
2. อย่าพึ่งตัดสินใจทำ โดยคิดจากเงินส่วนต่างหรือกำไรตลอดทั้งสัญญา
ก่อนที่เราจะตัดสินใจทำประกัน เรามักจะได้รับไฟล์ข้อเสนอที่ออกโดยบริษัทประกันก่อนใช่มั้ยคะ? (เป็นเอกสารที่ควรอ่านก่อนตัดสินใจเลยนะคะ🥺) ซึ่งบางบริษัทจะระบุเงินส่วนต่างโดยคิดจากยอดรวมตลอดทั้งสัญญาที่เราต้องได้รับให้ด้วย เช่น
จ่ายเบี้ยประกันไป 5 ปี ปีละ 100,000 บาท เท่ากับเราจ่ายเบี้ยไปทั้งหมดจำนวน 500,000 บาท
-> ได้รับบำนาญ 30 ปี ปีละ 30,000 บาท เท่ากับได้รับบำนาญทั้งหมด 900,000 บาท
= ดังนั้น ส่วนต่างของเบี้ยที่เราจ่าย กับ บำนาญที่เราได้รับ คือ 400,000 บาท
ซึ่งการที่เราเอาแค่ส่วนต่างมาเปรียบเทียบกัน แผนไหนได้ส่วนต่างเยอะก็ทำแผนนั้นอาจจะทำให้เราไม่ได้เห็นผลประโยชน์ที่เราได้รับจริง หรือไม่ตรงกับเป้าหมายที่เราวางแผนไว้ เพราะมีปัจจัยอื่นที่เราต้องดูร่วมด้วย เช่น
- เริ่มจ่ายบำนาญตอนอายุเท่าไร บางแผนเริ่มจ่ายอายุ 55 บางแผนเรื่องจ่ายอายุ 65
- จ่ายบำนาญถึงอายุเท่าไร
- จำนวนบำนาญที่จ่ายแต่ละปี เป็นต้น
3. อย่าพึ่งตัดสินใจทำ เพราะดูจากเงินบำนาญที่ได้ต่อปีอย่างเดียว
เหตุผลข้อนี้จะคล้ายกับข้อ 2 เลยค่ะ ยกตัวอย่างเช่น
แผน A จ่ายบำนาญให้เราปีละ 80,000 บาท แต่เราต้องจ่ายเบี้ยประกัน 10 ปี ปีละ 100,000 บาท
แผน B จ่ายบำนาญให้เราปีละ 50,000 บาท แต่เราจ่ายเบี้ยประกัน 5 ปี ปีละ 100,000 บาท
ทีนี้เราก็ต้องมาดูกันใช่มั้ยคะ ว่าทั้ง 2 แผนนี้จะจ่ายบำนาญให้เราเท่านี้ไปทั้งหมดกี่ปี เราจะเทียบกันได้ยังไงในเมื่อจำนวนปีที่เราจ่ายเบี้ยไปก็ไม่เท่ากันอีก ถ้าเราปรับแผน B ให้จ่ายเบี้ยมากขึ้นเป็นปีละ 120,000 บาทแทน แต่จ่ายแค่ 5 ปี ระยะเวลาสั้นกว่าแผน A แล้วจะได้ผลประโยชน์ดีกว่าหรือเปล่า?
ดังนั้น จากข้อ 2 และ 3 นี่เอง นักลงทุนรวมถึงนักวางแผนทางการเงินจึงนิยมใช้เครื่องมือตัวหนึ่งเพื่อเปรียบเทียบผลประโยชน์ได้ง่ายขึ้น นั่นก็คือ IRR (ย่อมาจาก Internal rate of return) โดยนำค่านี้มาใช้คำนวณหาอัตราผลตอบแทนต่อปีที่เราจะได้รับจากการออมเงินในรูปแบบประกัน ถ้าแผนประกันใดได้เปอร์เซ็นต์ IRR สูง ก็เท่ากับว่า เราจะได้รับผลตอบแทนจากแผนประกันนั้นสูงนั่นเองค่ะ
เปรียบเทียบแผนประกันบำนาญ
ในส่วนของการเปรียบเทียบแผนประกัน เราจะลองกำหนดที่เบี้ยประกันให้เท่ากันทุกแผนคือ 100,000 บาท และข้อมูลสำคัญในการคำนวณผลประโยชน์ออกมาคือ เพศและอายุ ซึ่งตัวอย่างในรูปเป็นเพศหญิง อายุ 35 ปี
ตารางในรูปข้างต้นเป็นตารางเปรียบเทียบประกันบำนาญแบบชำระเบี้ยระยะสั้น 5 – 10 ปีนะคะ มี 8 บริษัทประกันชีวิต รวมทั้งหมด 14 แผน เรียกได้ว่าหยิบทุกแผนที่เป็นการชำระเบี้ยในช่วงระยะนี้มาให้ดูหมดเลยและมีแผนใหม่ที่อัพเดตล่าสุดด้วยเพราะบางบริษัทปิดการขายสินค้าบางตัวไปและออกสินค้าใหม่มาค่ะ (01/09/67)
สรุปผลประโยชน์ในตาราง เราจะเทียบแต่ละมุมแต่ละด้านคร่าวๆ ดังนี้ค่ะ
- เทียบเปอร์เซ็นต์ IRR : ถ้าดูจากแผนที่มีระยะเวลาชำระเบี้ย 5 ปีเท่ากัน บ.สีส้มแบบบอกไม่ถูกจะได้ IRR สูงถึง 2.89% สูสีตีคู่มากับ บ.สีน้ำเงินเข้มสด IRR 2.86% และ IRR 3.04%
โดยแตกต่างที่
– บ.ส้มบอกไม่ถูก : จะจ่ายเงินบำนาญทุกปีจำนวนน้อยกว่า (39,250 บาท)แต่ยาวกว่าถึงอายุ 100 ปี เลยทีเดียว
– บ.น้ำเงินเข้มสดมี 2 แผน ซึ่งคำนวน IRR ได้สูงทั้ง 2 แผน จ่ายทุกปีในจำนวนมากกว่า (51,171 บาท & 63,118 บาท) แต่อายุเริ่มต้นจ่ายบำนาญจนถึงอายุสุดท้ายจะแตกต่างกันค่ะ - เทียบที่เงินผลประโยชน์รวมและส่วนต่างสูงสุด :
– แบบชำระเบี้ย 5 ปี : บ.น้ำเงินเข้มสดแผนที่คุ้มครองถึงอายุ 90 ปี ชนะเลิศรางวัลนี้ค่ะ เพราะได้เงินบำนาญรวมทุกปี 1,641,xxx บาท โดยที่จ่ายเบี้ยทั้งหมดไปเพียง 500,000 บาท ได้ส่วนต่างกำไรเป็น 1,641,xxx – 500,000 = 1,141,xxx บาท
– แบบชำระเบี้ย 9 ปี : บ.สีส้มแบบส้มได้รางวัลชนะไป เพราะได้บำนาญรวม 2,091,xxx ลบกับเบี้ยที่จ่ายไป 9 แสน คิดเป็นส่วนต่างกำไร คือ 1,191,xxx บาท (แต่ บ.สีแดงถ้าคิด IRR จะได้สูงกว่า 0.03% นะ)
– แบบชำระเบี้ย 10 ปี : บ.สีฟ้าสว่างได้รางวัลชนะในมุมนี้ แม้จะจ่ายบำนาญแต่ละปีน้อยกว่า บ.เขียว แต่เริ่มจ่ายตั้งแต่อายุ 60 ย๊าววไปจนถึงอายุ 99 ทำให้ได้บำนาญรวมทั้งหมดเป็น 2,700,xxx ลบกับเบี้ยที่จ่ายไป 1 ล้าน คิดเป็นส่วนต่างกำไร คือ 1,700,xxx บาทค่ะ - เทียบเงินบำนาญที่ได้แต่ละปีสูงสุด : ถ้าจ่ายเบี้ยประกันไปเท่ากัน แล้วบริษัทไหนจะจ่ายบำนาญแต่ละปีคืนให้เยอะสุดนะ ? ผลที่ออกคือออ…
– แบบชำระเบี้ย 5 ปี : บ.น้ำเงินเข้มสดแผนที่คุ้มครองถึงอายุ 90 ปี ชนะไปอีกแล้ว! แต่ข้อเสียคือ เริ่มจ่ายช้าที่อายุ 65 เลย ถ้าใครอยากได้ตัวที่จ่ายเร็วหน่อย (อายุ 60) และได้บำนาญแต่ละปีเยอะรองลงมาแถมจ่ายยาวถึงอายุ 100 ปีด้วยให้ดูแผนของ บ.สีส้มบอกไม่ถูก ก็เป็นอีกตัวเลือกที่สนใจเลยค่ะ
– แบบชำระเบี้ย 7-10 ปี : ขอยกให้ บ.เขียวชนะ แต่ข้อเสียคือเริ่มจ่ายช้าที่อายุ 65 อีกแล้ว ดังนั้นตัวที่น่าสนใจรองลงมาขอยกให้เป็น บ.ฟ้าสว่างเพราะจ่ายตั้งแต่อายุ 60 ในจำนวนที่เยอะกลางๆ แถมยาวนานถึงอายุ 99 ไปเลยค่ะ
หมายเหตุ : ตัวเลขในตารางอาจจะมีความคลาดเคลื่อนจากข้อเสนอจริงเล็กน้อยเพราะตัดจุดทศนิยมออกหรือโปรแกรมบริษัทประกันฯ คำนวนเบี้ยที่ 1 แสนเป๊ะไม่ได้ (เช่น ต้องทำเบี้ย 100,009 บาท)
ใครอ่านมาถึงตรงนี้น่าจะรู้สึกตาลายพอสมควรและยังคงชั่งใจอยู่บ้างว่าจะเลือกจากอะไรดีนะเพราะจริงๆ แล้ว การเทียบกันอาจจะฟันธง 100% ได้ยากว่าแบบไหนดีที่สุดใช่มั้ยคะ เพราะดีที่สุดของแต่ละคนอาจจะต่างกันไปตามเหตุผลส่วนตัว เป้าหมายชีวิต และอื่นๆ อีกมากมาย เช่น อยากจะเกษียณเร็วตั้งแต่ 55 หรือ วางแผนเงินก้อนตอนเกษียณไว้บางส่วนแล้วเลือกบำนาญที่จ่ายคืนตอนอายุ 65 ก็ไหว หรือ ตระกูลอายุยืนมากเลือกบำนาญที่จ่ายยาวๆ ดีกว่า เป็นต้น
ไม่ว่าคุณจะเลือกด้วยเหตุผลไหนหรือมีเป้าหมายอะไรก็ตาม อย่าพึ่งกังวล สับสนและตาลายไปกับข้อมูลที่เยอะมากมายจนท้อใจไปค่ะ สามารถทักมาพูดคุยกับเราก่อนได้เลยที่ไลน์ @planningtoday เราพร้อมแนะนำและหาข้อมูลให้ทุกท่านตัดสินใจทำประกันได้อย่างมั่นใจค่ะ
มีบริษัทประกันใดบ้าง ?
บริษัท ซัมซุงประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
บริษัท ฟิลลิปประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
บริษัท เอฟดับบลิวดีประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
บริษัท แรบบิทประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
บริษัท เอไอเอ จำกัด
ลูกค้าสมัครทำประกันได้เลยทุกบริษัทผ่านตัวแทน Planning today และเรายังมีบริการเปรียบเทียบแผนประกันบำนาญให้รายบุคคลสำหรับลูกค้าที่ต้องการเห็นตารางเปรียบเทียบของตัวเองแบบชัดๆ ก่อนสมัครทำประกัน
โปรโมชันพิเศษสุดๆ! สำหรับลูกค้าที่ใช้บริการเปรียบเทียบแผนประกันรายบุคคลสามารถนำค่าบริการมาเป็นส่วนลดในการสมัครทำประกันต่อได้อีกด้วยค่ะ
ขั้นตอนทำประกันออนไลน์
ผ่านช่องทางตัวแทน
เลือก
แจ้งเพศและวันเกิด
เพื่อเช็คเบี้ยประกันของคุณทางไลน์@
กรอก
กรอกข้อมูลในใบสมัครทำประกัน (แบบกระดาษหรือออนไลน์ ขึ้นอยู่กับบริษัทประกันที่ทำ)
รับ
รอผลอนุมัติแจ้งกลับจากบริษัทประกัน และรอรับเล่มกรมธรรม์ได้เลย